กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ จับมือหลายภาคส่วน ชูนโยบายลดขยะพลาสติกในทะเลเป็นวาระแห่งอาเซียน เหตุเป็นภัยเงียบคร่าชีวิตมนุษย์และสัตว์ทะเลจำนวนมาก
Gclubthnarok นายวิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามและทบทวนการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จัดโดย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ สมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมฯ (สคส.) จัดขึ้นนายวิจารย์ กล่าวว่า วาระสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมในปีนี้ ชูนโยบายลดขยะพลาสติกในทะเล เนื่องจากผลกระทบจากขยะพลาสติกที่ตกค้างสร้างผลกระทบและอันตรายต่อสัตว์ทะเลและมนุษย์อย่างมาก จากการสลายตัวของขยะพลาสติกในทะเลจนกลายเป็น "ไมโครพลาสติก" ขนาดเล็กเท่ากับ "แพลงก์ตอน" จากนั้น สัตว์ทะเลกินเข้าไป เมื่อมนุษย์บริโภคสัตว์ทะเลที่มีไมโครพลาสติกเหล่านี้เข้าไปสารตกค้างจะสะสมในร่างกาย ถือเป็นภัยเงียบที่อันตรายมาก ดังนั้นจึงสร้างความร่วมมือในการเลิกทิ้งขยะทะเล และการใช้ขยะพลาสติก โดยเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม และองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) ถือเป็นวาระแห่งชาติของรัฐบาล
ทั้งนี้ ปัญหาขยะทะเล หรือ ขยะพลาสติก เป็นปัญหาใหญ่ แม้แต่ธนาคารโลก หรือ World Bank ให้ความสำคัญ และพร้อมสนับสนุนงบประมาณ ถือเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญระดับโลกที่องค์การสหประชาชาติ(ยูเอ็น) ให้ความสำคัญ เพราะสัตว์น้ำในทะเลได้รับผลกระทบอย่างหนักจากขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งในทะเล ส่วนใหญ่มาจากทั่วโลกไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย เช่น ปลาวาฬเกยตื้นตายบนชายหาดทางภาคใต้ เมื่อผ่าชันสูตรท้องปลาวาฬพบขยะพลาสติกที่มาจากทั่วโลก
"นโยบายลดการใช้ขยะพลาสติก ทางกระทรวงตั้งเป้าหมายให้ทุกกระทรวง ทบวง กรมของภาครัฐ ต้องช่วยกันลดการใช้ขยะ วางเป้าหมายต้องลดลงให้ได้ 5% ขณะที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงต้องมากกว่า 10% พร้อมกับจะมอบรางวัลเป็นกำลังใจแก่หน่วยงานใดลดขยะพลาสติกได้ตามเป้า โดยกำหนดให้ในวันที่ 5 มิ.ย.นี้ วันสิ่งแวดล้อมโลก ทางกระทรวงณ จะมีการประกาศนโยบายพร้อมจัดกิจกรรมรณรงค์ปัญหาขยะทะเลหรือขยะพลาติก เป็นวาระแห่งชาติ และ วาระแห่งอาเซียน เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และ ภาคประชาชน มาทำงานร่วมกัน" ปลัดกระทรวง ทส. กล่าว
ขอขอบคุณภาพและข้อมูล จาก thaihealth
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น