อากาศร้อนทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา หลายจังหวัดอุณหภูมิพุ่งสูงทะลุ 40 องศา เรียก ได้ว่าฮอตสุดๆจนติดอันดับโลกกันเลย ทีเดียว ผู้ที่ประกอบอาชีพกลางแจ้งยิ่งต้อง ระวัง แต่มนุษย์เงินเดือนหนุ่มสาวออฟฟิศ ที่ได้ทำงานอยู่ในห้องแอร์เย็นๆตลอดทั้งวันก็ไม่ควรชะล่าใจ เพราะแอร์ยิ่งเย็นสบายมากเท่าใด เมื่อออกไปเจอสภาพอากาศร้อนจัดทันที ก็อาจเสี่ยงเป็น ไข้หวัดแดด
Gclubthnarok ไข้หวัดแดด (Summer Flu) เป็นโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่ ประกอบกับต้องเผชิญอากาศที่ร้อนจัด หรือ อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงบ่อย ร่างกายปรับตัว กับสภาพอากาศไม่ทัน ทำให้ร่างกายเกิดการสะสมความร้อนไว้ภายใน และด้วยสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยที่เป็นเมืองร้อนชื้น เชื้อโรคจึงมีชีวิตอยู่ได้นานยิ่งขึ้น
นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค ให้ข้อมูล ว่า การเจ็บป่วยจากภาวะอากาศร้อน เป็นภาวะวิกฤตที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวหรือควบคุมระดับความร้อนในร่างกายได้ มีสาเหตุมาจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม 4 ประการ ได้แก่ อุณหภูมิของอากาศที่ร้อน ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศที่สูงขึ้น การอยู่ กลางแจ้งหรืออยู่ในที่ที่อาจได้รับรังสีความร้อน และสภาวะที่มีลมหรือการระบายอากาศน้อย
ไข้หวัดแดดนี้เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่มักพบบ่อยในผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดด เช่น เกษตรกร นักกีฬา, เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ, ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง, คนอ้วน, ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ, ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งผู้ที่ต้องเข้าออกบ่อยๆระหว่างสถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศและสภาพอากาศภายนอกที่ร้อนจัด
อาการแบบไหนเข้าข่ายหวัดแดดใครที่พึ่งตากแดดตากลม ลองสำรวจตัวเองกันหน่อยว่ามีอาการเหล่านี้บ้างหรือไม่
มีไข้ต่ำๆ (ไม่เกิน 40 องศาเซลเซียล) วิงเวียน ปวดศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัวอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ปากแห้ง คอแห้ง แสบคอ ท้องไส้ปั่นป่วน ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียนนอนไม่ค่อยหลับ
หลายครั้งผู้ที่เป็นหวัดมักเกิดความสับสนระหว่าง หวัดแดด กับ ไข้หวัด เพราะอาการค่อนข้างคล้ายคลึงกัน แต่ในความจริงแล้ว ไข้หวัดจะมีอาการคัดจมูก มีน้ำมูก เจ็บคอ มีเสมหะ ร่วมด้วย ส่วนหวัดแดดจะไม่ค่อยมีน้ำมูก หรือมีน้ำมูกใสๆเพียงเล็ก น้อย และไม่มีอาการเจ็บคอ แต่จะรู้สึก ขมปาก คอแห้ง และแสบคอแทน
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า หวัดแดดเกิดขึ้นจากเชื้อตัวเดียวกับไข้หวัดใหญ่ ดังนั้นผู้ที่เป็นไข้หวัดแดด จึงควรพักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นเช็ดตัวเพื่อระบายความร้อนภายใน ดื่มน้ำอุ่นมากๆ รับประทานอาหารที่สะอาดและปรุงสุกใหม่ หรืออาจทานยาลดไข้ ร่วมด้วย โดยอาการเหล่านี้มักจะหายเป็นปกติใน 2 สัปดาห์
โรคหวัดแดด แม้ไม่แสดงอาการที่รุนแรงแต่ความร้อนที่สะสมอยู่ภายในร่างกายย่อมส่งผลกระทบต่ออวัยวะภายใน เช่นเดียวกับเครื่องยนต์ที่ร้อนจัด สมรรถนะ ในการทำงานก็ย่อมลดลงตามไปด้วย ดังนั้นเราจึงควรป้องกันและดูแลสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ ดังนี้
1. หลีกเลี่ยงการเผชิญแสดงแดดโดยตรง หรือที่อากาศร้อนจัด หากจำเป็นควรใส่เสื้อคลุมกันแดด หรือพกร่มไปด้วย
2. หลีกเลี่ยงสถานที่ที่ผู้คนแออัด 3. สวมใส่เสื้อผ้าสีอ่อน ที่ระบายอากาศได้ดี
4. ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
5. ทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินซีสูง เพื่อป้องกันหวัด
6. หากต้องเผชิญสภาพอากาศที่ร้อนจัด ควรนั่งพักในที่ร่มที่อากาศถ่ายเทสะดวกสักพัก ก่อนเข้าในสถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศ เพื่อให้ร่างกายปรับตัวกับอุณหภูมิที่แตกต่างได้ทัน
ปัจจุบันนี้เมืองไทยอากาศแปรปรวนอย่างไม่เคยเป็นมา ฉะนั้นการดูแลรักษาสุขภาพเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง มิฉะนั้นแล้วเราอาจต้องเผชิญหน้ากับโรคร้ายโดยไม่คาดฝัน เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวเย็น หนุ่มสาวออฟฟิศจงฟัง! ระวัง "หวัดแดด" มาเยือนโดยไม่รู้ตัว
ขอขอบคุณภาพและข้อมูล จาก thaihealth.or.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น