ปภ.เตือน ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ เป็นเขตภัยพิบัติแล้ง - Gclubthnarok

Gclubth เว็บไซต์พนันออนไลน์การันตี อันดับ1 ของคนเล่น

Breaking

Post Top Ad

Post Top Ad

Responsive image

วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2562

ปภ.เตือน ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ เป็นเขตภัยพิบัติแล้ง

ปภ.สรุปสถานการณ์แล้ง "ร้อยเอ็ด-ศรีสะเกษ" สาหัสประกาศเขตภัยพิบัติแล้ว ส่วนอีก 9 จว.ได้รับผลกระทบวาตภัยเดือดร้อน 595 หลัง สังเวย 1 ศพ ขณะ 7 จังหวัดเหนือฝุ่นลดลง แต่ยังเกินมาตรฐาน คุณภาพอากาศระดับส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ อ.แม่สาย เชียงราย ยังวิกฤติระดับสีแดง


          Gclubthnarok  นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย(ปภ.) กระทรวงมหาดไทย แถลงสรุปสถานการณ์ภัยแล้งว่า ขณะนี้หลายพื้นที่ของประเทศได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง โดยมีจังหวัดประกาศเขตให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินภัยแล้งแล้ว 2 จังหวัด 5 อำเภอ 7 ตำบล 53 หมู่บ้าน ได้แก่ จ.ร้อยเอ็ด ใน 2 อำเภอ คือ อ.เมืองสรวง และ อ.สุวรรณภูมิ 2 ตำบล 10 หมู่บ้าน และ จ.ศรีสะเกษ ใน 3 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองจันทร์ อ.ขุขันธ์ และ อ.ไพรบึง รวม 7 ตำบล 43 หมู่บ้าน

          อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยแล้งมีประสิทธิภาพ ปภ.ประสาน จังหวัดวางแผนบริหารจัดการน้ำให้เป็นระบบ พร้อมบูรณการความช่วยเหลือประชาชน ด้วยการจัดรถบรรทุกน้ำแจกจ่าย น้ำบรรเทาความเดือดร้อน นอกจากนี้ ให้แต่ละพื้นที่ตรวจสอบปริมาณน้ำต้นทุนและสำรวจความต้องการใช้น้ำในแต่ละพื้นที่ ควบคู่กับการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ขณะเดียวกัน ให้แจ้งเตือนเกษตรกรงดปลูกพืชฤดูแล้ง ใช้น้ำอย่างประหยัด

          นายชยพล ยังสรุปสถานการณ์พายุ ฤดูร้อน หลังกรมอุตุนิยมวิทยาออกคำเตือน ก่อนหน้านี้ว่า ตั้งแต่วันที่ 18-20 มีนาคม มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากวาตภัย 9 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร เลย ลำปาง แพร่ พะเยา ลำพูน อุตรดิตถ์ และน่าน รวม 16 อำเภอ 31 ตำบล 71 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 595 หลัง ผู้เสียชีวิต 1 ราย อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ประเทศไทยตอนบน จะมีพายุฤดูร้อนลดลง แต่ยังคงมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณจ.ขอนแก่น กาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม และนครราชสีมา ปภ.จึงประสานจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัย พร้อมรับมือพายุฤดูร้อนตลอด 24 ชั่วโมง และออกคำเตือนประชาชนให้ระวังอันตรายจากสถานการณ์ภัย นอกจากนี้ ได้ประสานจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เตรียมพร้อมรับมือพายุฤดูร้อน

          ส่วนสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 นายชยพล เปิดเผยว่า จากการประสานข้อมูลคุณภาพอากาศกับกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เวลา 05.00 น. วันเดียวกันพบว่า มีจังหวัดที่มีปริมาณฝุ่น PM2.5  เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ปริมาณฝุ่น PM10  เฉลี่ย 24 ชั่วโมง เกิน ค่ามาตรฐาน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) และดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) เกินค่ามาตรฐาน 100 รวม 7 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย ที่ต.เวียง อ.เมืองเชียงราย ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงใหม่ ที่ต.ช้างเผือก ต.ศรีภูมิ ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม  จ.ลำปาง ที่ต.พระบาท อ.เมืองลำปาง ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ  จ.แม่ฮ่องสอน ที่ต.จองคำ อ.เมืองแม่ฮ่องสอน จ.น่าน ที่ต.ในเวียง อ.เมืองน่าน จ.พะเยา ที่ต.บ้านต๋อม อ.เมืองพะเยา  จ.ตาก ที่ต.แม่ปะ อ.แม่สอด โดยสถานการณ์ในภาพรวมมีค่า PM2.5 ระหว่าง 51-130  มคก./ลบ.ม. ค่า PM 10 ระหว่าง 69-167 มคก./ลบ.ม. และ AQI มีค่าระหว่าง 101-240 ซึ่งคุณภาพอากาศส่วนใหญ่อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ หรือระดับสีส้ม ทั้งนี้ มีจังหวัด ที่คุณภาพอากาศระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ หรือระดับสีแดง ได้แก่ ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย

          ส่วนสถานการณ์ที่จ.เชียงใหม่ คุณภาพอากาศดีขึ้น ฝุ่นเกินมาตรฐานเล็กน้อย หลังมีลมและฝนตกลงมาช่วยให้หมอกควันหายไปบ้าง แต่เจ้าหน้าที่ยังคุมเข้มการเผาหลังพบจุดความร้อนทั่วภาคเหนือกว่า 300 จุด ส่วนใหญ่อยู่ใน จ.แม่ฮ่องสอน และเชียงใหม่ ล่าสุดเจ้าหน้าที่ อุทยานแห่งชาติศรีลานนา จับกุมชายวัย 56 ปี พร้อมไฟแช็ก บริเวณป่าห้วยเรือ อ.พร้าว หลังเกิดไฟลุกไหม้แนวป่าเป็นบริเวณ กว้าง จึงเข้าสกัดดับไฟ ก่อนควบคุมตัวไปดำเนินคดี โดยอ้างว่าจุดไฟเผาหญ้าในสวนของตัวเอง แต่ไฟลุกลามเข้าไปในเขตป่า เนื่องจากไม่สามารถควบคุมได้ นับเป็นมือเผารายที่ 3 ของเชียงใหม่ที่ถูกจับกุมดำเนินคดี

          ด้านนายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 19 มีนาคม หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.เชียงใหม่ พิษณุโลก อุดรธานี นครสวรรค์ กาญจนบุรี จันทบุรี และหน่วยฯหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้ขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ฝุ่นละออง เพิ่มความชุ่มชื้น ให้พื้นที่ป่าไม้ และยับยั้งความรุนแรงของพายุลูกเห็บ ทำให้มีฝนตกบริเวณพื้นที่การเกษตร จ.นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี พื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น พื้นที่ลุ่มรับน้ำบริเวณ อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู อ่างเก็บน้ำทับเสลา อ่างเก็บน้ำห้วยขุนแก้ว และอ่างเก็บน้ำกระเสียว ด้านหน่วยฯ พิษณุโลกขึ้นปฏิบัติการยับยั้งและบรรเทาความรุนแรงของพายุลูกเห็บด้วยภารกิจเมฆเย็นด้วยเครื่องบิน Super King Air ช่วยยับยั้งพายุลูกเห็บและทำให้มีฝนตกเล็กน้อยในจ.ตากและกำแพงเพชร โดยไม่พบรายงานว่ามีลูกเห็บตกพื้นที่เป้าหมาย



ขอขอบคุณภาพและข้อมูล จาก thaihealth.or.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Top Ad