กรมการแพทย์เตือนมะเร็งหลังโพรงจมูก ภัยเงียบที่ควรระวัง - Gclubthnarok

Gclubth เว็บไซต์พนันออนไลน์การันตี อันดับ1 ของคนเล่น

Breaking

Post Top Ad

Post Top Ad

Responsive image

วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

กรมการแพทย์เตือนมะเร็งหลังโพรงจมูก ภัยเงียบที่ควรระวัง

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ เตือน “มะเร็งหลังโพรงจมูก” อีกหนึ่งมะเร็งร้ายที่กลายเป็นภัยเงียบที่ควรระวัง  แนะเลี่ยงการสูบบุหรี่ สารก่อมะเร็ง สิ่งสำคัญควรสังเกตตัวเองอยู่เสมอ เพื่อรักษาที่ทันเวลา เนื่องจากการรักษาโรคในระยะแรกเริ่มจำได้ผลดีกว่าในระยะลุกลาม
Gclubthnarok   นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคมะเร็งหลังโพรงจมูกเป็นที่พบมากในแถบเอเชียบางประเทศ เช่น จีน ไต้หวัน ฮ่องกง รวมถึงประเทศไทยของเราด้วย สำหรับประเทศไทยพบมะเร็งหลังโพรงจมูกในเพศชายมากกว่าเพศหญิงราว 2 เท่า และมักพบในผู้ป่วยที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ข้อมูลจากทะเบียนมะเร็ง สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ปี 2014 พบผู้ป่วยเพศชาย 1087 คน เพศหญิง 462 คน คิดเป็นอุบัติการณ์การเกิดโรค 2.62 และ 1.0 คนต่อประชากรแสนคน ในเพศชายและเพศหญิงตามลำดับ มะเร็งโพรงจมูกเกิดจากการที่เซลล์ต่างๆ ในโพรงจมูกและโพรงอากาศข้างจมูกเกิดความผิดปกติหรือมีการเปลี่ยนแปลง แต่ยังไม่มีการยืนยันแน่ชัดว่าสาเหตุที่แท้จริงของโรคคืออะไร ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง เช่น พันธุกรรม การติดเชื้อไวรัส การรับประทานอาหารที่มีสารไนโตรซามีน และการสัมผัสสารก่อมะเร็งจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม อาทิ ฝุ่นไม้ บุหรี่ เป็นต้น
นายแพทย์วีรวุฒิ  อิ่มสำราญ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า มะเร็งโพรงจมูกอาจไม่แสดงอาหารในระยะแรกๆ เนื่องจากโพรงจมูกมีลักษณะค่อนข้างกว้าง โดยอาการอาจจะปรากฏออกมาเมื่อมะเร็งเจริญเติบโตไปรอบๆหรือมีขนาดใหญ่จนปิดกั้นโพรงจมูกไปมากแล้ว อาการทั่วไปที่พบบ่อย คือ คัดจมูก น้ำมูกไหลข้างเดียวที่ผู้ป่วยไม่ได้เป็นหวัดหรือภูมิแพ้และยังมีอาการอื่นๆ ที่มีความแตกต่างกันในคนไข้แต่ละราย ขึ้นอยู่กับว่ามะเร็งนั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากบริเวณไหน เช่น มีเลือดกำเดาไหล หูอื้อ ชาและปวดบวมบริเวณใบหน้า ปวดหัว และมีก้อนนูนอยู่บริเวณต้นคอใต้ติ่งหู เป็นต้น หากผู้ป่วยมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว ในด้านวินิจฉัยนั้น ใช้เวลาวินิจฉัยค่อนข้างนานและอาจต้องวินิจฉัยหลายๆ ครั้ง เพื่อหาระยะและระดับความรุนแรงของโรคอย่างถูกต้อง เพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ โดยการรักษาหลักมี 3 วิธี ได้แก่ 1. ผ่าตัดในกรณีที่เนื้องอกอยู่ในระยะแรกๆ ยังไม่มีการกระจายตัวมากนัก 2.การฉายแสง 3.และการให้ยาเคมี
การป้องกันมะเร็งโพรงจมูกเบื้องต้น ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เช่น การสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงการรับควันบุหรี่ การสวมเครื่องป้องกันขณะปฏิบัติงานในโรงงานที่มีสารก่อมะเร็ง และสิ่งสำคัญควรสังเกตตัวเองอยู่เสมอเพื่อการรักษาที่ทันเวลา เนื่องจากการรักษาโรคในระยะแรกเริ่มจำได้ผลดีกว่าในระยะลุกลาม





ขอขอบคุณภาพและข้อมูล จาก thaihealth.or.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Top Ad