ร้อนตับแลบ ร้อนตับจะแตก ร้อนละลาย...มันเป็นแบบนี้นี่เอง คุณผู้หญิงหลายคนคงเริ่มเข้าใจแล้วว่า "ความร้อน" และ "แสงแดด" ทำร้ายสาวๆ ได้มากกว่าที่คิด ไม่ใช่แต่ผิวพรรณ ใบหน้า ความเหี่ยวย่น แต่ภายในร่างกายของเรา แสงแดดก็ทำร้ายได้เช่นกัน
Gclubthnarok จึงอยากพาสาว ๆ ไปรู้จักเรื่องราวของ "โรคลมแดด" หรือ "ฮีทสโตรก" (Heat Stroke) โรคภัยเกี่ยวกับความร้อนที่เกิดจากภายใน เชื่อว่าคงพอได้ยินกันมาบ้างแล้ว แต่นอกเหนือจากอาการเบื้องต้น เรายังนำข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มเสี่ยงในการเกิดโรค การป้องกันโรค รวมไปถึงอุปกรณ์ป้องกันแสงแดดมาฝากด้วย โดยสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ ได้ให้ข้อมูลไว้ดังนี้
รู้ลึก "โรคลมแดด" อาการ กลุ่มเสี่ยง และการป้องกัน
โรคลมแดด...คือ
โรคลมแดด หรือ ฮีตสโตรก หรือ Heat Stroke เป็นความผิดปกติของร่างกายที่สามารถเกิดขึ้นได้ เมื่ออุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น จากการเผชิญกับสภาพอากาศที่มีความร้อนสูง
กิจกรรมบ่งชี้!!
ขอยกตัวอย่าง เช่น การออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมท่ามกลางอากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน ซึ่งพบว่ามีอุบัติการณ์เพิ่มมากขึ้นในฤดูร้อน อุณหภูมิพุ่งเกิน 40 องศา โดยอาการของโรคลมแดด จะเริ่มจากอุณหภูมิร่างกายค่อย ๆ สูงขึ้น เมื่อเกิน 40 องศาเซลเซียส จากนั้นร่างกายจะไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้รู้สึกผิดปกติ
อาการ...
กระสับกระส่าย ซึม สับสน ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว หายใจหอบ ตัวแดง ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ ทั้งนี้เมื่อพบผู้ที่มีอาการจากโรคลมแดด ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดโดยเร็ว
ใครคือกลุ่มเสี่ยง?
กลุ่มเสี่ยงของโรคลมแดด ได้แก่
1. ผู้สูงอายุ
2. เด็ก
3. ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ยังไม่สามารถควบคุมได้
4. ผู้ป่วยระยะพักฟื้น
5. ประชาชนทั่วไป
รวมวิธีป้องกัน...
1. หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมในสภาพอากาศที่ร้อนจัดหรือกลางแจ้งเป็นเวลานาน หากสามารถเลี่ยงได้ ควรเลือกเวลาที่ต้องการทำกิจกรรมในช่วงเช้ามืด หรือระหว่างพระอาทิตย์ตกดิน
2. ผู้ที่ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมกลางแจ้งหรือในสภาพที่อุณหภูมิร้อนจัด ควรดื่มน้ำให้มากเพียงพอ
3. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่เพิ่มความเสี่ยงของการขาดน้ำ เช่น เครื่องดื่มที่ผสมกาเฟอีน กาแฟ เหล้า เบียร์ เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้ จะทำให้เสียน้ำทางปัสสาวะในปริมาณสูง หากไม่สามารถชดเชยน้ำได้มากพอ จะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นลมแดด
แนะไอเทมป้องกันแดด
นอกจากนี้เรายังมีอุปกรณ์ป้องกันแสงแดด เช่น หมวก ร่ม เสื้อผ้าบางคลุมร่างกาย ที่มีคุณสมบัติระบายอากาศได้ดี ถือเป็นหนึ่งอุปกรณ์ที่ควรพกติดตัว เมื่อต้องเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัด นอกจากนี้การอยู่ในรถที่ติดเครื่องยนต์กลางแจ้ง ระหว่างรอทำกิจกรรมบางอย่าง นอกจากต้องพบกับอากาศร้อนแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงของการได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซพิษที่มีผลต่อระบบประสาท จึงควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน
ขอขอบคุณภาพและข้อมูล จาก thaihealth.or.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น