กทม.รณรงค์ ใช้ถุงพลาสติกในใส่น้ำแข็งแทนการใช้ถุงกระสอบ - Gclubthnarok

Gclubth เว็บไซต์พนันออนไลน์การันตี อันดับ1 ของคนเล่น

Breaking

Post Top Ad

Post Top Ad

Responsive image

วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2562

กทม.รณรงค์ ใช้ถุงพลาสติกในใส่น้ำแข็งแทนการใช้ถุงกระสอบ

กทม.เฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยน้ำแข็งช่วงหน้าร้อน ย้ำขอให้ใช้ถุงพลาสติกแทนกระสอบ และกทม.จะร่างหลักเกณฑ์เพื่อควบคุมมาตรฐานความสะอาดต่อไป


Gclubthnarok  นายชวินทร์ ศิรินาค ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวว่า จากที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบและสุ่มเก็บตัวอย่างถุงกระสอบพลาสติกบรรจุน้ำแข็งจากโรงงานผลิตน้ำแข็งและร้านค้าจำหน่ายน้ำแข็ง 10 แห่งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบถุงกระสอบพลาสติกบรรจุน้ำแข็งส่วนใหญ่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มีเชื้อโรคที่เป็นอันตรายและอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพนั้น ในพื้นที่กรุงเทพฯ พบสถานที่ผลิตน้ำแข็ง จำนวน 71 ราย แบ่งเป็น น้ำแข็งหลอด 55 ราย น้ำแข็งซอง 5 ราย น้ำแข็งหลอดและซอง 11 ราย ที่ผ่านมาสำนักอนามัย ร่วมกับสำนักงานชันสูตรสาธารณสุขและสำนักงานเขต เฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยน้ำแข็งช่วงหน้าร้อน โดยตรวจสถานที่ผลิตน้ำแข็งในพื้นที่กรุงเทพฯ ระหว่างเดือนมี.ค. - ก.ค.ของทุกปี ซึ่งจากผลการตรวจสอบในปี 2561 ด้านสุขลักษณะตามหลักเกณฑ์ GMP มีผู้ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 71 ราย และจากการตรวจสอบคุณภาพน้ำแข็งจากสถานที่ผลิตในพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งหมด 82 ตัวอย่าง พบว่าด้านจุลินทรีย์ ผ่านเกณฑ์คุณภาพน้ำแข็ง และด้านเคมี ผ่านเกณฑ์คุณภาพน้ำด้านเคมี ทั้ง 82 ตัวอย่าง

นายชวินทร์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังรณรงค์อย่างต่อเนื่องให้ผู้ประกอบการขนส่งน้ำแข็ง ใช้ถุงพลาสติกในการบรรจุน้ำแข็งแทนการใช้ถุงกระสอบ ภาชนะรองรับน้ำแข็งต้องสะอาด และดูแลสุขอนามัยของผู้ขนส่งน้ำแข็ประชาชนควรเลือกซื้อน้ำแข็งที่บรรจุในถุงหรือแก้วพลาสติกพร้อมบริโภค สังเกตรายละเอียดบนฉลากภาชนะบรรจุน้ำแข็ง ดูเครื่องหมายสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ชื่อ และที่ตั้งของผู้ผลิต มีข้อความระบุ “น้ำแข็งใช้รับประทานได้” หากจะบริโภคน้ำแข็งที่ใช้ตักแบ่งขายในร้านอาหาร น้ำแข็งต้องมีความใส สะอาด ปราศจากเศษฝุ่นละอองปนเปื้อน ภาชนะบรรจุน้ำแข็งต้องสะอาด และผู้จำหน่ายต้องไม่นำสิ่งของอื่นมาแช่ปะปนกับน้ำแข็งบริโภค และควรหลีกเลี่ยงน้ำแข็งที่ขนส่งโดยถุงกระสอบ เพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร โดยกทม.จะร่างหลักเกณฑ์เพื่อควบคุมมาตรฐานความสะอาดต่อไป



ขอขอบคุณภาพและข้อมูล จาก thaihealth.or.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Top Ad